ความเป็นมาของการดรายเอจเนื้อ มีมาตั้งแต่โบราณจริงหรือ ?

ความเป็นมาของการดรายเอจเนื้อ มีมาตั้งแต่โบราณจริงหรือ  ?

คำว่าดรายเอจ (Dry-Aged) มาจากคำว่าเอจ (Aged) ซึ่งหมายถึงการบ่มเป็นระยะเวลานาน เมื่อมีการเพิ่มคำว่าดราย (Dry) เข้าไปขยายก็จะหมายการบ่มแบบแห้งเป็นระยะเวลานาน การดรายเอจนั้นเป็นวิธีถนอมอาหารของมนุษย์ในยุโรปมาตั้งแต่สมัยโบราณ เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ใหญ่แล้วต้องการจะเก็บเนื้อไว้ให้อยู่นานขึ้น โดยเราจะพบหลักฐานการล่าสัตว์เป็นอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น กรีก โรมันและเมโสโปเตเมีย

 
ต่อมีเราพบหลักฐานว่าชาวยุโรปโบราณก็รุ้จักใช้การดรายเอจในการบ่มเนื้อมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จากรูปวาดที่ชื่อ “The Slaughtered Ox”. ที่มีชื่อเสียโด่งดังของ Rembrandt โดยในรูปเป็นสตรีแอบอยู่หลักซากที่ดรายเอจทิ้งไว้ให้แห้ง สังเกตได้จากสีของไขมันที่ออกเป็นสีเหลืองจากการผึ่งเป็นเวลานาน 

ในสมัยนั้นการบ่มเนื้อทำโดยการแขวนซากไว้ในที่เย็นและมีอากาศไหลผ่าน แต่เนื่องจากไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ บางครั้งเนื้อก็จะเกิดการเน่าเสียและมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย

จวบจนประมาณปี 1950 – 1970 เมื่อมีการควบคุมมาตรฐานของโรงเชือดมากขึ้น โรงเชือดรายเล็กๆ จำนวนมากต้องปิดตัวลงเพราะสู้ต้นทุนไม่ไหว ทำให้มีโรงเชือดขนาดเล็กบางโรงและร้านขายเนื้อกลุ่มหนึ่งเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีการซื้อขายเนื้อ จากเดิมขายเป็นซากทั้งตัว เปลี่ยนเป็นการขายเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อสเต็กชั้นดีหรือ Primal cut และเมื่อเริ่มมีการนำเอาตู้เย็นเข้ามาใช้ในการถนอมอาหาร ร้านขายเนื้อในยุโรปและอเมริกาจึงริเริ่มการทำดรายเอจเฉพาะส่วนขึ้น และได้พัฒนาจนเป็นรูปแบบการผลิตและจำหน่ายเนื้อดรายเอจในปัจจุบัน


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้